แนะนำสำหรับใครที่ดูคลิปหนังออนไลน์แล้วสะดุด ให้ลองใช้ google chrome ครับ
วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ตำนาน Toyota Celica สุดยอดรถสปอร์ตที่มาพร้อมกับความแรง2
เขียนโดย unidentifild flying object ที่ 21:55ต่อกับ ตำนาน สปอร์ตสุดสวยมาพร้อมด้วยความแรง ตอนที่ 2
1990 -1993 Celica Generation 5
รุ่นที่ 5 กับสายการผลิต Celica การออกแบบครั้งนี้ แตกต่างกับรุ่น Gen 4 อยู่มาก เน้นที่ความกลมกลืน รูปทรงที่ทันสมัยขึ้น ผสมความสวยงามน่าเกรงขามคล้ายกับสปอร์ทรุ่นพี่อย่าง Toyota Supra และความกะทัดรัดอย่างรุ่นน้อง Toyota MR2 ไฟหน้ายังคงใช้แบบ ป๊อบอัพ กระจกมองข้างทรงลู่ลม หลังคาลาดต่ำลง ทำให้มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทางอากาศเพียง CD 0.34 การผลิตมีตั่งแต่รุ่น 3 ประตู และ 2 คูเป้ซึ่งหาดูได้ยากมาก และ 2 ประตูหลังคาอ่อนสามารถเปิดปะทุนได้ ในบ้านเรานิยมเรียก Celica รุ่นนี้ว่า เซลิก้า ปลาคาร์ฟ (อันนี้ผมก็ไม่ทราบได้ว่ามีที่มากันยังไงนะครับ คงจะมาจากกระแสนิยมเลี้ยงปลาคาร์ฟ กันมากในสมัยนั้น?) Celica รุ่นนี้ถือเป็นรุ่นที่นิยมมาก กับรูปทรงที่สวยงาม และ ความสามารถในการเกาะถนน แบ่งรุ่นตามเครื่องยนต์ที่บรรจุใต้ฝากระโปรงดังนี้
Celica S-R, Z-R, GT-R, Active Sports ในรหัสตัวถัง AT180 , ST182 – ST184 มีเครื่องให้เลือกตั้งแต่ 1,600 ซีซี รหัส 4A-FE ในรุ่น SR – ZR จะใช้เครื่องขนาด 2,000 ซีซี ในรหัส 3S-FE ส่วนในรุ่น GT-R จะใช้เครื่อง 2,000 ซีซี แบบ DOHC รหัส 3S-GE โดยมีแรงม้า165 ตัวที่ 6,800รอบ และ แรงบิด19.5 กก.ม ที่ 4,800รอบต่อนาที จนถึงเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ 2,200 ซีซี รหัส 5S-FE ในรุ่น GT–GTS ช่วงล่างแบบแมคเฟอร์สันสตรัทด้านหน้า และระบบคานคู่ด้านหลังเช่นเดียวกับ Toyota Colona ดิสเบรก 4 ล้อพร้อมระบบ ABS ภายในแบบสปอร์ท และพวงมาลัยเพาเวอร์แบบ แรคแอนพิเนียน ระบบเลี้ยวสี่ล้อ 4 WS ทำให้เป็นรถที่ได้ทั้งความเร็ว และสมรรถนะการเกาะถนน
Celica GT-Four เป็นรถยนต์ในรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ รหัสตัวถัง ST 185 ที่จะมีความแตกต่างจาก ST182 -184 ด้วยกันชนหน้าแบบเปิดกว้างพร้อมช่องระบายความร้อน สคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า Toyota Celica GT-4 ถูกผลิตขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นรถแข่งทางฝุ่น ในการแข่งขัน Rally WRC ซึ่งตามกฎของ FIA (Homologate) ที่ว่ารถยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันต้องเป็นรถยนต์ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายมากกว่า 2,500 คันขึ้นไป GT-4 จึงเป็นที่หมายปองของผู้ที่นิยมรถสปอร์ทแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ และเครื่องยนต์อันทรงพลังในรหัส 3S-GTE ขนาด 2,000 ซีซี DOHC อ่านปริมาณอากาศขาเข้าด้วย Airflow พ่วงด้วยเทอร์โบชาร์จเจอร์แบบ twin entry turbo หรือเทอร์โบแบบ 2 พอร์ทในตัวเดียว รหัส CT26 ระบายความร้อนด้วยอินเตอร์คูเลอร์แบบ Air-To-Air วางอยู่ใต้ฝากระโปรงหน้า 3S-GTE มีความกว้างกระบอกสูบ X ช่วงชักที่ 86.0 x 86.0 ม.ม. อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1 ให้กำลังสูงสุด 225 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิด 30.8 กก. - ม. ที่ 4,000 รอบต่อนาที ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Full time อัตราทดเฟือง เกียร์ 4.285 มาพร้อมกับระยะฐานล้อที่กว้างถึง 2,545 มิลิเมตร ความยาวตัวถัง 4,424 มิลิเมตร ฐานล้อด้านหน้าที่ 1,505 และด้านหลัง 1,525 มิลิเมตร จึงทำให้ GT-4 กลายเป็นรถสปอร์ท 2 ประตูขนาดเล็กที่มีทั้งพลังเครื่องยนต์ที่รุนแรง การออกตัวที่ดี และการยึดเกาะถนน
1994-1999 Celica Generation 6
ในรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ ทาง Toyota Motor ฉลองความสำเร็จครบรอบกำเนิด 25 ปีของ Toyota Celica จึงทำให้Celica รุ่นนี้กลับมามีเอกลักษณ์แบบย้อนยุค ด้วยไฟหน้ากลม 4 ดวง เฉกเช่นเดียวกับ Celica Generation 1 ให้ความสวยงามดุดันได้มากกว่า จนได้รับฉายาในบ้านเราว่า เซลิก้าไฟกลม หรือตากลม มาพร้อมกับรูปทรงที่ทันสมัยมากขึ้น มีทั้งแบบ 2 ประตู 3 ประตู Liftback และแบบหลังคาอ่อนเปิดประทุน ออฟชั่นต่างๆอย่างครบครันทั้งระบบ ดิสเบรก 4 ล้อ ABS ช่วงล่างแบบ Sport ให้ความมั่นใจในการเกาะถนน
Celica ST- GT รหัสตัวถัง AT200-ST204 เริ่มตั้งแต่ตัวประหยัดขนาด 1,800 ซีซี ในเครื่องยนต์รหัส 7A-FE ซึ่งในตัวถัง ST จะใช้เครื่องยนต์ขนาด 2200 ซีซี ในรหัส 5S-FE และเครื่องยนต์ 2,000 ซีซี รหัส 3S-GE DOHC จนถึงในรุ่น GT,GT-S จะใช้เครื่องยนต์ 2,200 ซีซี รหัส 5S-FE 136 แรงม้าที่ 5,400 รอบต่อนาที
Celica SSI, SSII ในรหัส ST202 ผลิตขึ้นปี 1997 จะใช้เครื่องยนต์บล็อกใหม่ในชื่อว่า BEAMS ในรหัส 3S-GE VVTi ซึ่งจะเพิ่มระบบวาล์วแปรผันให้กับฝาสูบของเครื่องยนต์ สามารถเปลี่ยนระยะองศาการเปิดปิดวาล์ว ให้สัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์ได้มากขึ้น เป็นผลทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า มลพิษต่ำกว่า แต่ให้พลังสูงขึ้นเป็น 200 แรงม้าที่ 7,000 รอบต่อนาที กับแรงบิด 152 lb/ft ที่ 6,000 รอบต่อนาที โดยไม่พึ่งพาเทอร์โบ
Celica GT-Four รหัส ST205 มาพร้อมกับกันชนหน้าแบบเปิดกว้าง สปอร์ทไลท์ไฟกลมใต้กันชน กระจังหน้าเปิดช่องเป็นตะแกรงเพื่อในการช่วยรับลมมาระบายความร้อน สคูประบายอากาศบนฝากระโปรงหน้าขนาดใหญ่ พร้อมสปอยเลอร์หลังทรงสูงโลโก้ GT FOUR ในด้านท้ายช่วยในการเพิ่มแรงกดอากาศที่ความเร็วสูง ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบในรหัสเดิม 3S-GTE ขนาด 2,000 ซีซี DOHC ซึ่งได้ปรับปรุงมาจาก ST185 หลายส่วน อ่านปริมาณอากาศด้วย Map เซนเซอร์ เทอร์โบใช้ขนาดโตรหัส CT20B ระบายความร้อนด้วยอินเตอร์คูลเลอร์ แบบอากาศสู่น้ำ Air-To-Water ที่ด้านหน้าจะมีหม้อน้ำระบายความร้อนน้ำให้กับ น้ำหล่อเย็นอินเตอร์ ให้กำลัง 255 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 31 ก.ก-ม ที่ 4,000 ต่อนาที ส่งกำลังผ่านระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ 4WD ช่วงล่างแบบ Super Strut Suspension ระบบดิสเบรกหน้าขนาดใหญ่ และคาริเปอร์แบบ 4 Port ด้านหน้า และ 2 Port ด้านหลัง ซึ่งถือว่าเป็นรถสปอร์ทขับเคลื่อนสี่ล้อ ที่สมบูรณ์แบบเลยก็ว่าได้
Celica GT-Four WRC เป็นรถที่ใช้ในการแข่งขันชิงแชมป์แรลลี่โลก หรือ WRC ใช้เครื่องยนต์ 3SGTE ปรับเปลี่ยนเพิ่มพลังเป็น 299 แรงม้า ภายใต้การควบคุมของ Toyota Team Europe จนในปี 1990 คาร์ลอส เซนซ์ นักแข่งในทีม Toyota ก็สามารควบ GT-4 ในรหัส ST185 คว้าแชมป์โลกได้เป็นผลสำเร็จ ก่อนที่ในปี 1992 ก็สามารถกับมาคว้าแชมป์ได้อีก จนถึงปี 1993 ยูฮา คังคูเนน ก็ยังคงทำให้ Toyota Team Europe ครองแชมป์โลกได้เป็นครั้งที่สองติดต่อกัน จนปีต่อมา 1994 ดิดีเยร์ โอรีโอล ปี ก็ควบ GT-4 ในรหัส ST-205 เข้าเส้นคว้าแชมป์เป็นครั้งที่สามติดต่อ ถือเป็นความสำเร็จของ GT-4 ก่อนที่ในปี 1995 รอบชิงชนะเลิศทาง สมาพันธ์การแข่งขันรถยนต์นานาชาติ หรือ FIA ได้ประกาศปรับแพ้การแข่งขัน หลังจากที่ตรวจสอบว่าทาง Toyota Team Europe ได้เพิ่มช่องทางอากาศให้กับเทอร์โบ ให้มีขนาดใหญ่กว่าที่กำหนด ผิดกฎการแข่งขันที่ทาง FIA ได้ตั้งไว้ ก่อนที่จะปรับให้หยุดการแข่งขันถึง 2 ปี จนทำให้ Celica GT-4 WRC ห่างหายไปจากวงการจากบัดนั้นจวบจนปัจจุบัน จนในอีก 2 ปีต่อมา Toyota Team Europe ก็ได้เปลี่ยนทายาทสืบทอดเป็น Toyota Corolla WRC โฉมไฟกลมกลับขึ้นสังเวียนมาชิงชัยอีกครั้ง
2000 -2005 Celica Generation 7
มาถึงรุ่นปัจจุบัน Celica รุ่นนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนโฉมเป็นการใหญ่ ภายใต้คอนเซป XYR กันชนหน้าแบบ front bumper และ สปอย์เลอร์หลังทรง GT ไฟหน้าแบบยาว ฝากระโปรงหน้ามีจมูกรับอากาศ ทำให้รูปทรงของ Celica รุ่นนี้สวยงาม และทันสมัย ช่วงล่างใช้แบบแม็คเฟอร์สันสตัรท คอยล์สปริง ระบบเบรก ABS มีให้เลือกทั้งเกียรธรรมดา และ เกียรออโตเมตริก 4 speed แบบ Steermatic ที่สามารถเปลี่ยนเป็น Manaul ได้
Celica SS-I รหัสตัวถัง ZZ230 จะใช้เครื่องยนต์แบบขับเคลื่อนล้อหน้า ซึ่งเครื่องยนต์จะถูกปรับเปลี่ยน ให้ท่อระบายไอเสียไหลลงสู่ด้านหลัง ขนาด 1,794 ซีซี 4 สูบ 16 วาล์ DOHC บล็อก BEAMS ขนาดช่วงชัก 85X82 กำลังอัดที่ 10:1 รหัส 1ZZ-FE ควบคุมปริมาณอากาศด้วยระบบวาล์วแปรผัน VVTi ให้แรงม้า 145 แรงม้าที่ 6,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุดที่ 170.4 Nm ที่ 4,200 รอบต่อนาที
Celica SS-II รหัสตัวถัง ZZ231 ใช้เครื่องยนต์รหัส 2ZZ-FE ถูกโมดิฟลายให้มีพลังมากขึ้นโดยบริษัท YAMAHA ด้วยการเพิ่มกำลังอัดขึ้นเป็น 11.0:5 เปลี่ยนระยะช่วงชักจาก 85X82 เป็น 79.0X91.5 มิลิเมตร แต่ทำให้มีความจุเพิ่มขึ้นเพียง 1 ซีซีเท่านั้นเป็น 1795 ซีซี ฝาสูบแบบ BEAMS หรือระบบ VVTi ซึ่งจะเพิ่มระบบเปลี่ยนระยะยกของลูกเบี้ยว ซึ่งจะใช้ลูกเบี้ยว 2 ตัว ลูกเบี้ยวตัวแรกที่มีองศาน้อยทำหน้าที่เปิดวาล์วในรอบต่ำ ส่วนรอบสูงจะเปลี่ยนใช้ลูกเบี้ยวองศาสูง ทำให้มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 190 แรงม้าที่ 7,600 รอบต่อนาที แรงบิดเพิ่มขึ้นเป็น 180.44 Nm ที่ 6800 รอบต่อนาที
Celica SS-II Super Strut ใช้เครื่องยนต์รหัส 2ZZ-FE เพิ่มช่วงล่างแบบ Super Strut นุ่มนวล เกาะถนนขึ้น เกียรออโตเมตริก 4 speed แบบ Steermatic ที่จะให้อัตราทดที่ชิดแบบ Close Ratio ซึ่งจะเปลี่ยนเกียรที่ 7,800 รอบ ซึ่งแต่ละเกียรรอบเครื่องจะตกลงเพียง 1,800 รอบต่อนาทีเท่านั้น และเฟืองท้ายแบบ LSD ทำให้ Celica รุ่นนี้ให้ทั้งความเกาะถนน และการขับขี่ได้สนุกมากขึ้น
ในปัจจุบัน Celica SS-II ได้ถูกปรับเปลี่ยนแปลงโฉมเพื่อเข้าร่วมแข่งขันในรายการ Japan Grand Touring Car หรือ JGTC ขึ้นชั้นเทียบเท่า Super Car ระดับโลก และรายการ Motor Sport อีกหลายรายการจนสร้างชื่อเสียงให้กับ Celica ในปัจจุบัน
ขอขอบคุณที่มา http://www.thaispeedcar.com