แนะนำสำหรับใครที่ดูคลิปหนังออนไลน์แล้วสะดุด ให้ลองใช้ google chrome ครับ

google chrome มีคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักท่องเว็บครับ เพราะโหลดหน้าเว็บได้เร็ว และ ดูคลิปหนังออนไลน์ได้ดี ไม่สะดุด ลองหามาใช้กันครับ ติดตั้งง่าย และ เร็ว ที่สำคัญฟรีๆไม่มีค่าใช้จ่าย ลองดูคุณสมบัติ google chrome

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มาดูรถสปอร์ต ที่สวยงามไม่แพ้ใครในโลก ของค่าย toyota กันบ้าง



สุดยอดรถสปอร์ท 2 ประตูขนาดเล็ก ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Toyota ในการแข่งขัน Rally ระดับโลกหลายยุคหลายสมัย ความสวยงามไม่เป็รองใคร นั่นคือ Toyota Celica นั่นเอง คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสปอร์ทรุ่นน้อง ว่ามีความเป็นมา ผลิตมาแล้วกี่รุ่น แต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันอย่างไร


เริ่มตำนานในปี 1967 สมัยนั้นรถสปอร์ท 2 ประตูกำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ความสำเร็จของ Toyota นั้น หลังจากที่ได้เข็นรถสปอร์ทรุ่นแรก ในชื่อว่า 2000 GT ออกมาอวดสายตาชาวโลก จนได้รับความนิยมขายดิบ ขายดี ในขณะที่รถตลาดรุ่นใหญ่อย่าง Toyota Colona และ รุ่นเล็กที่กำลังมาแรงอย่าง Corolla ก็กำลังทำยอดการตลาดของ Toyota ให้เติบโตขึ้นในทุกขณะ ทางบริษัทจึงได้วางแผนการผลิตรถ 2 ประตูขนาดเล็ก ด้วยความผสมผสานระหว่าง Corolla กับ 2000 GT ออกมาเป็นรถต้นแบบ ในชื่อว่า EX-1 แต่ก็เป็นไปได้เพียง รถยนต์ต้นแบบเท่านั้น จนในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ เดือนธันวาคม ปี 1970 การเปิดผ้าคุม Toyota Celica รุ่นแรกก็ได้เกิดขึ้น สร้างความสนใจแก่ชม ด้วยรูปร่างเล็กกะทัดรัด เน้นความความประหยัด จนทำยอดจองได้มาก และกระแสตอบรับที่ดีต่อสายตาคนทั่วโลก



1970 - 1977 Celica Generation 1
ถือเป็นรุ่นแรกในสายการผลิต ด้วยรูปแบบรถสปอร์ท 2 ประตู Hard Top 2 + 2 ที่นั่ง ใช้ไฟหน้าเช่นเดียวกับ Corolla แบบไฟกลม 4 ดวง ช่วงล่างแบบ Sport ผสมรูปลักษณ์รถยนต์ขนาดเล็กอย่าง Carina จนได้เป็นรถสปอร์ทรูปร่างสวยงามนาม Celica ซึ่งในบ้านเรามักนิยมเรียกกันว่า เซลิก้าหน้าโหนก หรือ สาลิกา ออกมาจำหน่ายทั่วโลก ในรหัสเครื่องยนต์ต่างกัน ตามลักษณะรุ่น
Celica LT , ST , ET, RA จะใช้เครื่องยนต์หลายรุ่นใน ตระกูล R engine , T engine ตั้งแต่ขนาด 1400 ซีซี รหัส T1400 รุ่นประหยัด ขนาด 1600 ซีซี ในเครื่องบล็อค 2T จนถึงแบบแคมคู่ 2T Twincam 1600 ซีซี


Celica GT-GTV เป็นรถที่ผลิตขึ้นให้เต็มเปี่ยมทั้งความสวยงาม และสมรรถนะ ด้วยมิติความกว้าง1,610 ยาว 4,165 สูง 1,310 น้ำหนัก 970 กิโลกรัม และเครื่องที่มีพลังรุนแรง ทำให้รถรุ่นนี้เป็นที่ชื่นชอบกับผู้ที่นิยมขับรถแบบ โอเวอร์สเตียร์ และถูกดัดแปลงเป็นรถยนต์แข่งขันทางฝุ่น ซึ่งจะใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ รหัส 8R 1900 ซีซี จ่ายน้ำมันด้วยคาบูเรเตอร์แบบคู่ มีแรงม้า 108 แรงที่ 6,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 135 นิวตัน-เมตร ที่ 6,200 รอบ/นาที สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 190 กม./ชม. และยังมีเครื่องยนต์ให้เลือกอีกมาก ตามโซนแต่ละประเทศ จนถึงเครื่องขนาดใหญ่ระดับ 2000 ซีซี ในรหัส 18R-C และ 2200 ซีซี รหัส 20 R


Celica Liftback เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Celica Generation I เริ่มผลิตขึ้นในปี 1973 ด้วยรูป แบบ 3 ประตู กระจังหน้าถูกขยายกว้าง ไฟท้ายแบบ 5 ช่อง คล้ายกับ Ford Mustang ในรหัสบอดี้ TA20 -27 และ RA21 จนถึง RA 28 แต่ละรุ่นจะมีความแตกต่างกันเช่น กระจังหน้า ไฟหน้า ความยาวของตัวถัง ฝากระโปรงหน้า และฝาท้าย ส่วนเครื่องมีให้เลือกตั้งแต่ 1600 ซีซี และ 2000 ซีซี เป็นอีกรุ่น ที่ได้รับความนิยมมากทั่วโลกในสมัยนั้น



1977 – 1978 Celica Generation 2
เป็นรุ่นที่ 2 ของการผลิต ด้วยการปรับปรุงรูปแบบ ตั้งแต่การเพิ่มความยาว และความกว้างของตัวถัง ฝากระโปรงหน้าที่ลาดยาวขึ้น ไฟหน้าคล้ายรุ่นเดิมแบบไฟกลม 4 ดวง จนถึงตัวสุดท้ายรุ่นไฟเหลี่ยม 4 ดวง ลดความสูงของหลังคาให้เตี้ยลง โดยเน้นความสามารถทางด้านอากาศผลศาสตร์ ให้ค่าสัมประสิทแรงเสียดทานต่ำลง เพื่อเหตุผลด้านการประหยัดพลังงาน จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวนครั้งใหญ่ และราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว จนได้ฉายานามว่า เซลิก้า แอร์โร่ว์
Celica ST, LT, GT ยังคงใช้เครื่องยนต์เหมือนเดิม เริ่มตั้งแต่ 2T และ 2T Twincam ขนาด 1600 ซีซี และรุ่นใหญ่สุด 2200 ซีซี ในรหัส 18R-C
Celica XX หรือ Celica Supra เป็นรุ่นที่จำหน่ายใน UK และ USA จะใช้เครื่องยนต์แบบ 6 สูบ ตั้งแต่ 1M ขนาด 2000 ซีซี 110 แรงม้า 5M ขนาด 2800 ซีซี และเครื่องยนต์แบบ 2000 ซีซี Twinturbo รหัส 1G-TEU และกลายมาเป็นต้นแบบ Supra MK I



1982 – 1985 Celica Generation 3
รุ่นที่ 3 นี้ รูปทรงภายนอก และภายในถูกปรับเปลี่ยนโฉมกันครั้งใหญ่ ภายนอกรูปลิ่มเน้นความเหลี่ยมดุดัน ไฟหน้าเป็นกระจกใส แบบ Pop Up ซึ่งเมื่อเวลาเปิด ไฟหน้าจะพับตั้งขึ้น รุ่นนี้ถูกผลิตขึ้นมาทั้ง 2 ประตู และ 3 ประตู รุ่นที่ผลิตมีตั้งแต่
Celica SV, ST, ST-EFI, SX ยังใช้แบบขับเคลื่อนล้อหลัง เครื่องยนต์นั้นยังคงมีให้เลือกมากมายหลายรุ่น ตั้งแต่ 1600 ซีซี รหัส 2T 1800 ซีซี รหัส 3T และ 1S ขนาดความจุ 2000 ซีซี รหัสเครื่องยนต์ 18R-G จนถึงบล็อกใหญ่สุดขนาด 2400 ซีซี ในเครื่อง 22R-E
Celica GT-T, GTS ถือเป็นรุ่นท็อปสุดของ Celica รุ่นนี้ เหตุผลการผลิตเพื่อใช้ ในการแข่งขัน WRC หรือ Word Rally Championship Group B ซึ่งในรุ่น GT-T จะถูกผลิตขึ้นเพียง 200 คัน เครื่องยนต์นั้น ทั้ง GT-T และ GTS จะใช้เครื่องยนต์ขนาด 1800 ซีซี 4 สูบ แบบ DOHC Twincam 2 วาล์วต่อสูบ 8 หัวเทียน Twin Spark ควบคุมการสั่งงานด้วยระบบหัวฉีด EFI เพิ่มพลังงานด้วย Turbo Charger รหัส CT20 ในบล็อคเครื่องยนต์คุ้นหู 3T-GTE ได้แรงม้ามากถึง 160 แรงม้า และแรงบิด 152 ft•lbf (206 N•m) ที่ 4800 รอบต่อนาที



1986 -1989 Celica Generation 4 รุ่นที่ 4 ของสายการผลิตครั้งนี้ทาง Toyota ก็ได้ปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขับเคลื่อนเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า ซึ่งมีผลด้านการประหยัดพลังงานได้มากกว่า สิ้นเปลืองวัสดุน้อยกว่า จนทำให้ได้ Celica รุ่นใหม่ ภายใต้รูปแบบที่ฝากระโปรงหน้าที่สั้นลง เหมาะกับการใช้งานเมือง และ ไฟหน้าแบบ Pop Up ตามความนิยมในรถสปอร์ทสมัยนั้น การผลิตมีทั้งแบบ 2 และ 3 ประตู รวมถึงรุ่นหลังคาอ่อนแบบเปิดประทุนได้ ซึ่งบ้านเรานิยมขนานนาม Celica รุ่นนี้ว่า เซลิก้า ไฟป๊อบตูดกระจก ด้วยเสาหลังคาด้านหลังแบบ C-pillar ที่ทำให้ด้านท้ายดูเหมือนไม่มีเสาหลังคา เป็นชิ้นเดียวกับกระจกบานหลัง แบ่งได้ตามรหัสตัวถังดังนี้
Celica 1.6 ST รหัสตัวถัง AT 160 ใช้เครื่องยนต์แบบ SOHC 8 V ขนาด 1600 ซีซี รหัส 2S-E มีพลัง 97 แรงม้า
Celica 1.6 GT รหัสตัวถัง AT160 ใช้เครื่องยนต์แบบ Twincam 16V 1600 ซีซี รหัสเครื่องยนต์ 4A-GE ควบคุมหัวฉีดด้วยระบบ TVIS ให้แรงม้า 124 แรงม้าที่ 6600 รอบต่อนาที
Celica 1.8 ST-EFI & 1.8 SX รหัสตัวถัง ST163 ใช้เครื่องขนาด 1800 ซีซี SOHC 8 วาล์วต่อสูบ รหัสเครื่องยนต์ 4S-Fi
Celica 2.0 ST รหัสตัวถัง ST161 ใช้เครื่องขนาด 2000 ซีซี รหัส 3S-FE แบบ SOHC มีพลัง 115 แรงม้า
Celica 2.0 SX, GT & GT-S รหัสตัวถัง ST162 ใช้เครื่องรหัส 3S-GE แบบ Twincam 16 V DOHC มีกำลังเครื่องยนต์มากถึง 135 แรงม้า



Celica GT–FOUR รหัสตัวถัง ST165 เป็นรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ผลิตออกมาเพื่อใช้ในการแข่งขัน Rally WRC ด้วยเครื่องยนต์ แบบ 4 สูบ ขนาด 2000 ซีซี 16 V DOHC ปั่นพลังด้วย Turbo Charger ระบายความร้อนด้วย Inter Cooler จนได้กำลังที่ 182 แรงม้า ที่ 6000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุดที่ 249 Nm ที่ 3200 รอบต่อนาที แม้ GT-Four จะเป็นรถที่มีน้ำหนักตัวอยู่มากถึง 1462 กิโลกรัม แต่ก็สามารถทะยานตัวได้อย่างรวดเร็วที่ 0-100 กิโลเมตรภายใน 7.9 วินาที ความเร็วตีนปลายทำได้ 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอย่างสบายๆ

ขอบคุณที่มา www.thaispeedcar.com