แนะนำสำหรับใครที่ดูคลิปหนังออนไลน์แล้วสะดุด ให้ลองใช้ google chrome ครับ

google chrome มีคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักท่องเว็บครับ เพราะโหลดหน้าเว็บได้เร็ว และ ดูคลิปหนังออนไลน์ได้ดี ไม่สะดุด ลองหามาใช้กันครับ ติดตั้งง่าย และ เร็ว ที่สำคัญฟรีๆไม่มีค่าใช้จ่าย ลองดูคุณสมบัติ google chrome

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ย้อนรอยความแรง Super Car Toyota Supra 1

ย้อนรอยความแรงที่มาพร้อมกับความสวยหยดย้อย toyota supra
สุดยอด Super Car ที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ยี่ห้อหนึ่งนั้นก็คือ Supra จาก Toyota นั่นเอง Supra จัดเป็นสุดยอดรถสปอร์ทขับเคลื่อนล้อหลัง ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีชื่อเสียงในด้านความแรงจาก บล็อกเครื่องยนต์ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด JZGTE ด้วยรูปร่างหน้าตาการออกแบบที่ไม่เป็นรองใคร สมรรถนะการเกาะถนน และด้วยเครื่องยนต์เพียง 3,000 ซีซี เสียภาษีต่ำกว่า เส้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่าแต่ให้พลังเทียบเท่ารถ Super Car ระดับ 300 กว่าแรงม้า แต่ก่อนจะมาเป็น Supra ให้พวกได้เห็นกันในปัจจุบัน จริงๆ Supra ได้สร้างตำนานความแรง มาอย่างยาวนาน พวกเรา thaispeedcar มามองย้อนกลับไปในอดีตกันกว่าว่า Supra ผลิตกันขึ้นมาแล้วกี่รุ่น แต่ละรุ่นมีข้อพิเศษอย่างไรกันบ้าง


2000 GT
เริ่มตำนานในปี 1965 ด้วยทางบริษัท Toyopet หรือ Toyota ในปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์ระดับแนวหน้าแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ออกแบบสร้างรถสปอร์ท ออกมาเพื่อเข้าร่วมรายการแข่งขัน1966 Japanese Grand Prix และรายการ Fuji 24-Hour Race ในปี 1967 ด้วยการผลิตต้นแบบ 2000 GT ในรูปทรงของรถสปอร์ทคูเป้ หน้ายาว ภายในห้องเครื่องบรรจุขุมพลังขนาด 150 แรงม้า 2,000 ซีซี รหัส 3M และเครื่องยนต์รหัส 2 M ขนาด 2,300 ซีซี แบบ 6 สูบแถวเรียง ควบคุมการเปิดปิดวาวล์ด้วยระบบ Dual Overhead Cams ป้อนเชื้อเพลิงด้วยคาบูเรเตอร์ถึง 3 ตัว ของSolex ส่งกำลังผ่านเกียรธรรมดา 5 สปีด เฟืองท้ายระบบ Limited Slip Differential หยุดพลังด้วยดิสเบรก 4 ล้อ ความเร็วตีนปลายก้าวไปได้ถึง 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง Toyota 2000GT เป็นรถที่ได้รับความนิยม ทั้งยังเคยเป็นรถประกอบภาพยนตร์ James Bond ทำให้ 2000GT เป็นรถที่มียอดจัดจำหน่ายสูงมากในอดีต แต่ในปัจจุบัน 2000GT จัดเข้าสู่ทำเนียบรถยนต์ Classic Car หายาก และราคาแพงมาก ถือว่าเป็นต้นแบบรถคุณปู่ของ Supra ในปัจจุบัน
Mark II (MK 2) Celica Supra
ผลิตขึ้นในปี 1982 – 1986 รหัสตัวถัง MA61, MA63, MA67, GA61
การออกแบบฉีกแนวความเป็นรถคลาสสิก ให้เป็นรถยนต์รุ่นใหม่ในรูปทรงโฉบเฉียวทันสมัย เป็นการนำไฟหน้าแบบ Pop-up มาใช้เป็นครั้งแรกของ Toyota รูปแบบสปอร์ทคูเป้ 3 ประตู ฟลูออฟชั่น ตัวถังมีความยาว 4460.9 mm กว้าง 1719.6 mm สูง1320.8 mm ช่วงล่างได้รับการดีไซน์มาจากบริษัท Lotus ด้วยระบบ MacPherson Struts ด้านหน้า ระบบอิสระล้อหลัง Semi – Trailing Arm Suspension ระบบดิสเบรก 4 ล้อ มีให้เลือกทั้งเกียรธรรมดา 5 สปีด และเกียรออโตเมตริก 4 สปีด ควบคุมด้วยอิเล็คทรอนิคส์ ECT ส่วนเครื่องยนต์ของรุ่นนี้มีถึง 6 รุ่น ตั่งแต่ 5M-E ในรุ่นเก่า MK I 2.8 ลิตร 116 แรงม้า เครื่องยนต์เทอร์โบอย่าง M-TEU 2.0 ลิตร 145 – 160 แรงม้า 5M-GEU 2.8 ลิตร 160 แรงม้า 5M-GE 170 แรงม้า และเครื่องยนต์ในบล็อกที่นักแต่งเริ่มคุ้นหน้าคุ้นตาตระกูล G แบบแถวเรียง 6 สูบ 2.0 ลิตรอย่าง 1G-EU 125 แรงม้า และ 1G-GEU ให้แรงม้าแบบสบายๆที่ 160 แรงม้า
Mark II (MK 2) Celica Supra
ผลิตขึ้นในปี 1982 – 1986 รหัสตัวถัง MA61, MA63, MA67, GA61
การออกแบบฉีกแนวความเป็นรถคลาสสิก ให้เป็นรถยนต์รุ่นใหม่ในรูปทรงโฉบเฉียวทันสมัย เป็นการนำไฟหน้าแบบ Pop-up มาใช้เป็นครั้งแรกของ Toyota รูปแบบสปอร์ทคูเป้ 3 ประตู ฟลูออฟชั่น ตัวถังมีความยาว 4460.9 mm กว้าง 1719.6 mm สูง1320.8 mm ช่วงล่างได้รับการดีไซน์มาจากบริษัท Lotus ด้วยระบบ MacPherson Struts ด้านหน้า ระบบอิสระล้อหลัง Semi – Trailing Arm Suspension ระบบดิสเบรก 4 ล้อ มีให้เลือกทั้งเกียรธรรมดา 5 สปีด และเกียรออโตเมตริก 4 สปีด ควบคุมด้วยอิเล็คทรอนิคส์ ECT ส่วนเครื่องยนต์ของรุ่นนี้มีถึง 6 รุ่น ตั่งแต่ 5M-E ในรุ่นเก่า MK I 2.8 ลิตร 116 แรงม้า เครื่องยนต์เทอร์โบอย่าง M-TEU 2.0 ลิตร 145 – 160 แรงม้า 5M-GEU 2.8 ลิตร 160 แรงม้า 5M-GE 170 แรงม้า และเครื่องยนต์ในบล็อกที่นักแต่งเริ่มคุ้นหน้าคุ้นตาตระกูล G แบบแถวเรียง 6 สูบ 2.0 ลิตรอย่าง 1G-EU 125 แรงม้า และ 1G-GEU ให้แรงม้าแบบสบายๆที่ 160 แรงม้า
Mark III (MK 3) Toyota Supra
ผลิตขึ้นในปี 1986 กลางปี – 1992 รหัสตัวถัง MA70, MA71, GA70, JZA70
เป็นรุ่นที่ผลิตขึ้นด้วยการผสมผสานระหว่าง Celica รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า MR2 เครื่องวางกลางขับหลัง และ Supra MK II จนได้เป็นรุ่นใหม่อย่าง MK III ในเครื่องยนต์วางหน้าตามยาว ขับเคลื่อนล้อหลัง รูปแบบสปอร์ท 3 ประตูคูเป้ MK III แบ่งออกเป็น 4 รุ่นตามรหัสของเครื่องยนต์ที่ซุกอยู่ใต้หน้าฝากระโปรงหน้า
MA70 ใช้เครื่องยนต์รหัส 7M-EU แบบ Twincam 24V 6 สูป 3.0 ลิตร 2,954 ซีซี ให้แรงม้า 200 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาที
MA71 ใช้เครื่องยนต์ 2,954 ซีซี เท่ากัน แต่ได้พ่วงเทอร์โบชาร์จเจอร์รหัส CT26 ของ Toyota ระบายความร้อนด้วยอินเตอร์คูเลอร์ ระบบการสั่งการจุดระเบิด distributor-less การจ่ายไฟแบบคอยล์อิสระ ควบคุมการทำงานด้วย Super Computer ในบล็อกเลื่องชื่อ 7M-GTE กับระยะช่วงชัก 83 X 91 กำลังอัด 8.4:1 น้ำหนักเครื่องยนต์ 119.5 กิโลกรัม สามารถสร้างพลังได้ 232 แรงม้าที่ 5,600 รอบต่อนาที และรุ่นพิเศษที่เรียกกันว่า Supra Turbo A ในรหัส 7M-GTEU ด้วยการ Upgrade ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์หลายอย่าง เปลี่ยนองศาแคมชาร์ป หัวฉีดขนาด 550 ซีซี แรงดันเทอร์โบจาก 6.8 psi เป็น 14 psi ( 1 bar ) ทำให้แรงม้าพุ่งขึ้นสูงถึง 267 แรงม้าที่ 5,600 รอบต่อนาที
GA70 ใช้เครื่องยนต์บล็อกเล็ก 1G-GTE ขนาด 2.0 ลิตร 1,988 ซีซี Twin cam 24V อัดอากาศด้วยเทอร์โบคู่ Twin turbo รหัส CT 12 ระบบระบายความร้อนด้วยอินเตอร์คูลเลอร์แบบอากาศ air-to-air และwater-to-air แบบอินเตอร์น้ำ ให้แรงม้าที่ 185 แรงม้าในรุ่นแรก หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าปลั๊กเหลือง และ 210 แรงม้าในรุ่นปลั๊กเทา ที่บ้านเราเรียกกัน
JZA70 หรือที่เรียกกันว่า 2.5GT ใช้เครื่องยนต์ขนาด 2,491 ซีซี รหัส 1JZ-GTE แบบ Twin-cam 24V อัดอากาศด้วยเทอร์โบชาร์จเจอร์ 2 ลูก รหัส CT 20 ระยะช่วงชัก 71.5 X 86 มิลิเมตร กำลังอัดที่ 9.1:1 มีแรงม้าถึง 280 แรงม้าที่ 6200 รอบต่อนาที ใน และ 300 แรงม้าในรุ่นระบบวาล์วแปรผัน VVT-i ที่ใช้เทอร์โบเดี่ยว CT12B เป็นตัวอัดอากาศ

ขอขอบคุณที่มา http://www.thaispeedcar.com