แนะนำสำหรับใครที่ดูคลิปหนังออนไลน์แล้วสะดุด ให้ลองใช้ google chrome ครับ

google chrome มีคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักท่องเว็บครับ เพราะโหลดหน้าเว็บได้เร็ว และ ดูคลิปหนังออนไลน์ได้ดี ไม่สะดุด ลองหามาใช้กันครับ ติดตั้งง่าย และ เร็ว ที่สำคัญฟรีๆไม่มีค่าใช้จ่าย ลองดูคุณสมบัติ google chrome

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แต่ง JAZZ เซ็ตเทอร์โบ แบบบ้าพลัง

แต่ง JAZZ เซ็ตเทอร์โบ แบบบ้าพลัง

เรื่องราวความร้อนแรงของ HONDA JAZZ ยังคงอยู่ในกระแสความนิยมของกลุ่มวัยรุ่น ด้วยรูปทรงของรถที่เล็กกะทัดรัด บวกกับอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ค่อนข้างต่ำ เหมาะสมกับเศรษฐกิจในยุคน้ำมันแพง แต่ความประหยัดนั้น ถึงแม้เป็นความต้องการของคนส่วนมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นที่ต้องการของทุกคนไป แต่ความแรงนี่ซิ เป็นที่ถวิลหาของกลุ่มวัยรุ่นมากกว่า ทำให้ทางออกที่นำมาช่วยเพิ่มพลังเครื่องยนต์ของ JAZZ คันนี้ จึงต้องลงเอยด้วยการเซ็ตเทอร์โบ แต่เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราลองมาดูกันดีกว่าครับว่า เจ้ารถ JAZZ คันนี้ คุณวิชัยจาก "VICHAI KARNCHANG" เขาได้ทำอะไรไปบ้าง


ภายนอกเสริมหล่อด้วยชุดพาร์ทลายคาร์บอน





เริ่มต้นขั้นตอนการแต่ง JAZZ ให้ดูทันสมัย หลายคนมองกันที่ภายนอก เพราะภายนอกเป็นสิ่งที่สามารถดึงดูดสายตาผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ทางคุณวิชัยจึงทำการเสริมหล่อให้กับภายนอกด้วยชุดแต่งฝีมือ TESTU ประกอบด้วย ฝากระโปรงหน้าที่มีช่องระบายความร้อนและเคลือบไว้ด้วยลายคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งฝากระโปรงดังกล่าว นอกจากความสวยงามแล้ว ยังมีคุณสมบัติที่เบาและเหนียวอีกด้วย ถัดไปด้านล่างใต้กันชนหน้าได้ทำการติดตั้งสเกิร์ตหน้าเคลือบลายคาร์บอน ส่วนบริเวณมุมกันชนก็มีอุปกรณ์ที่มักเห็นกันในรถสปอร์ต นั่นคือ SIDE CANARD ขยับมาบริเวณด้านข้างก็จะพบกับสเกิร์ตข้างที่เคลือบด้วยลายคาร์บอนเช่นกัน แต่ความโดดเด่นอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคงหนีไม่พ้นกระจกมองข้าง SPOON เคลือบลายคาร์บอน พร้อมตัวกระจกแบบตัดแสง สุดท้ายบริเวณด้านหลังได้ทำการติดตั้งสปอยเลอร์ SPOON ลายคาร์บอน, สเกิร์ตหลังเคลือบลายคาร์บอน และแผงกลางที่ฝากระโปรงหลังเคลือบลายคาร์บอนสไตล์ MUGEN


SIDE CANARD ช่วยให้
JAZZ ดูสะดุดตามากขึ้น

ฝากระโปรงไฟเบอร์ให้ทั้ง
ความเบาและความสวย

กระจกมองข้าง SPOON อาจดูไม่คุ้นเมื่อติดตั้งกับ JAZZ







L15A เล่นแรงด้วย TURBO


L15A จับมาเพิ่มความแรงด้วยเทอร์โบ

จุดประสงค์หลักในการทำรถคันนี้คงต้องยกให้เครื่องยนต์ที่มีพละกำลังรุนแรงมากกว่าเดิม ด้วยการโมดิฟายจากคุณวิชัย ที่สร้างชื่อในวงการมานานจนเป็นที่รู้จักของหลายคน เมื่อต้องหันมาทำรถของตัวเอง เลยต้องแสดงฝีมือกันหน่อย ดังนั้นเจ้าเครื่อง L15 A ที่ประจำการอยู่ใน JAZZ จึงต้องถูกโมดิฟายเพิ่มพลังกันใหม่ด้วยการนำไปเซ็ตเทอร์โบ ซึ่งขั้นตอนการทำนั้นก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับชิ้นส่วนภายในตัวเครื่องยนต์เลย อ๋อ! เกือบลืมบอกไปครับ ว่าคราวนี้เป็นสเต็ปใหม่ต่างจากของเดิมที่เคยลงไปแล้วในนิตยสาร JAZZ TUNING GUIDE


จ่ายน้ำมันเพิ่มด้วยหัวฉีดเสริมขนาด 550 ซี.ซี.

โบว์ออฟวาล์วเลือกใช้ของ GREDDY

การเซ็ตเทอร์โบได้เริ่มต้นด้วยการหาเทอร์โบที่มีขนาดเหมาะสมกับเครื่องยนต์มาใช้ ซึ่งเป็นเทอร์โบ GARRETT GT20 พร้อมเวสต์เกตกระป๋องทำหน้าที่ควบคุมแรงดันเทอร์โบ ก่อนจะส่งผ่านแรงดันเข้าสู่เครื่องยนต์ ซึ่งมีชุดอินเตอร์คูลเลอร์ของ GARRETT ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิไอดี นอกจากนี้ยังทำการติดตั้งอุปกรณ์จำเป็นสำหรับเครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบอย่างตัวโบล์วออฟวาล์ว GREDDY ที่ช่วยระบายแรงดันย้อนกลับภายในท่อไอดี


โบว์ออฟวาล์วเลือกใช้ของ GREDDY

สำหรับอุปกรณ์อีกชิ้นที่มีความสำคัญเช่นกัน เพราะมีส่วนช่วยในการลดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง นั่นคือ ออยล์คูลเลอร์ของ GREDDY ซึ่งการติดตั้งก็ง่ายนิดเดียว เพราะในชุดจะมีตัวอะแดปเตอร์ติดตั้งในตำแหน่งกรองน้ำมันเครื่อง พร้อมกับสายถักแบบทนแรงดันสูงติดตั้งเข้ากับแผงออยล์คูลเลอร์ที่วางไว้ด้านหน้าบริเวณหลังกันชน



ชุดท่อไอเสียเป็นสแตนเลสทั้งเส้น ส่วนหม้อพักปลายใช้วัสดุไททาเนียมน้ำหนักเบา

ระบบไอเสียทำการขยายท่อไอเสียใหม่เป็นขนาด 3 นิ้ว พร้อมกับนำหม้อพักใบกลางของ HKS ที่ทำมาจากวัสดุไทเทเนียมจากรถ 200SX มาแปลงใส่เป็นหม้อพักใบหลัง ส่วนระบบน้ำมันเชื้อเพลิงได้จัดการเพิ่มหัวฉีดเสริมขนาด 550 ซี.ซี.เข้าไป โดยหัวฉีดที่ว่านี้ถูกฝังอยู่ที่ท่อทางเดินไอดี นอกจากนี้ระบบจุดระเบิดได้ทำการเปลี่ยนหัวเทียนไปใช้ของ NGK PLATINUM เบอร์ 8 เพื่อป้องกันหัวเทียนละลาย ในขณะที่ได้รับความร้อนสูงจากห้องเผาไหม้ 37,38 กล่อง PIGGY BACK ถูกเปลี่ยนจาก HKS มาเป็น HALTECH

กล่อง ECU ลงตัวกับ HALTECH

องค์ประกอบสำคัญที่สุดสำหรับเครื่องยนต์โมดิฟายคงไม่ได้มีแค่เพียงการติดตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์เท่านั้น แต่ปัจจัยหลักที่สำคัญกว่าคือการจูนอัพ ว่าจะต้องทำอย่างไร เครื่องยนต์ที่โมดิฟายเพิ่มเติมเข้าไปถึงแสดงประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้



ชุดท่อไอเสียเป็นสแตนเลสทั้งเส้น ส่วนหม้อพักปลายใช้วัสดุไททาเนียมน้ำหนักเบา

ทางเลือกของการจูนอัพเครื่องยนต์ คงหนีไม่พ้นการใช้กล่อง ECU ที่สามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรมได้ แต่การเลือกใช้กล่องประเภทนี้ก็มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือกล่องแบบ STAND ALONE (กล่องที่เปลี่ยนเข้าไปแทนของเดิม เป็นการรับสัญญาณมาประมวลผลเอง) หรือกล่องแบบ PIGGY BACK (กล่องที่ต้องพ่วงเข้ากับกล่องเดิม เป็นการต่อคร่อมเพื่อรับสัญญาณหลอกกล่องเดิม)

สำหรับ JAZZ ของคุณวิชัย ช่วงแรกที่ทำการเซ็ตเทอร์โบใหม่ ๆจะเลือกใช้กล่อง PIGGY BACK ของ GREDDY e-MANAGE ซึ่งนำมาใช้ควบคุมการสั่งจ่ายน้ำมันทั้งหัวฉีดหลักและหัวฉีดเสริม อีกทั้งระบบไฟจุดระเบิดที่สามารถปรับตั้งได้ทั้ง RETARD และ ADVANCE


กันขนด้านหน้าเป็นที่อยู่ของออยล์
คูลเลอร์และอินเตอร์คูลเลอร์

อแด๊ปเตอร์ที่ต่อออยคูลเลอร์แยก
ออกมาจากกรองน้ำมันเครื่อง

ต่อมาก็ได้ทำการเปลี่ยนไปใช้กล่อง F-CON S ของ HKS อยู่อีกระยะหนึ่ง ซึ่งก็ยังคงเป็นกล่องประเภท PIGGY BACK อยู่ดี แต่ข้อดีของกล่องรุ่นนี้คือ สามารถควบคุมระบบไฟจุดระเบิดได้แม่นยำกว่า e-MANAGE แต่ปัจจุบันกล่องทั้งสองยี่ห้อนี้ก็ได้มีพัฒนาการที่เปลี่ยนไปกับ OPTION ใหม่ที่น่าใช้กว่าเดิม โดยกล่องของ HKS จะเป็นรุ่น F-CON SZ ส่วนของ GREDDY จะเป็นรุ่น ULTIMATE


จนล่าสุดคุณวิชัยก็หันมาลงตัวกับกล่องของ HALTECH รุ่น INTERCEPTER ซึ่งมีข้อดีตรง OPTION ที่ติดมามีให้เลือกใช้มากมาย เช่น ควบคุมหัวฉีดหลักและหัวฉีดเสริม, มีปรับบูสต์ไฟฟ้าในตัว เป็นต้น นอกจากนี้ในเรื่องของสัญญาณไฟจุดระเบิดก็ทำได้แม่นยำกว่าเดิม เพราะรับสัญญาณมาจากแคร็งค์เซ็นเซอร์ (กล่อง PIGGY BACK ทั่วไปมักจะรับสัญญาณจากคอยล์) ซึ่งจุดเด่นของกล่องรุ่นนี้พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ รับสัญญาณบางส่วนมาประมวลผลเอง ต่างกับบางรุ่นที่นำสัญญาณจากเซ็นเซอร์เดิมมาต่อคร่อมเพื่อหลอกกล่อง

จากเกียร์ CVT กลายเป็นเกียร์ธรรมดา

ครั้งแรกที่ทำการเซ็ตเทอร์โบใน JAZZ คันนี้ ของเดิมระบบเกียร์เป็นแบบอัตโนมัติ CVT 7 SPEED แต่ด้วยความแรงของเครื่องยนต์ที่มากขึ้นกว่าเดิม เลยกลัวว่าเกียร์จะรับไม่ไหว ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงได้เปลี่ยนไปใช้เกียร์ธรรมดา ซึ่งเจ้าเกียร์ธรรมดาชุดที่ใส่เข้าไปนี้ได้ทำการปรับปรุงชุดคลัตช์ใหม่ ด้วยการนำของ OS GIKEN แบบ TWIN PLATE มาใช้ โดยเจ้าชุดคลัตช์ที่นำมาใช้นี้เป็นของเครื่อง D15B

ช่วงล่างเล่นแบบครบ ๆ

เมื่อเครื่องยนต์ได้รับการโมดิฟายเพิ่มความแรงกันไปแล้ว ก็ต้องหันมาทำช่วงล่างให้มีสมรรถนะที่ดีกว่าเดิม ด้วยการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบหลัก ๆ ซึ่งในคันนี้ได้เริ่มต้นด้วยการหันไปคบหากับชุดโช้คอัพแบบปรับความหนืดได้พร้อมชุดสปริงโหลด ซึ่งทั้งชุดเป็นของ E-SPEC ต่อจากนั้นก็ทำการเพิ่มเหล็กค้ำโช้คของ CUSCO เข้าไปในด้านหน้า ส่วนด้านล่างได้จัดการเพิ่ม LOWER ARM เข้าไปด้วย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ทำการปรับปรุงในช่วงล่างด้านหน้ายังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังได้จัดการเปลี่ยนไปใช้ลูกหมากเหล็กกันโคลงแบบปรับได้ (ช่วยปรับให้เหล็กกันโคลงมีค่า K ที่แข็งขึ้น)



ล้อ W-WORK รุ่น MEISTER SZR ส่วนเบรกเป็นของ AP RACING

ในส่วนของล้อ ได้เลือกใช้ล้อ W-WORK รุ่น MEISTER SZR ขอบ 17 นิ้ว พร้อมยาง YOKOHAMA ขนาด 215/45 ZR17 ทางด้านระบบเบรกได้จัดการการเปลี่ยนไปใช้ระบบเบรกสมรรถนะสูงกว่าเดิม โดยชุดเบรกหน้าได้เลือกใช้คาลิเปอร์ 4 พอร์ต ของ AP RACING กับจานเบรก MUGEN ส่วนด้านหลังเปลี่ยนไปใช้คาลิเปอร์ AP RACING พร้อมจานเบรก MUGEN เช่นกัน












ภายในไม่เน้นอุปกรณ์


คราวนี้ก็มาถึงภายในห้องโดยสารกันบ้าง ซึ่งตรงจุดนี้หลายคนให้ความสำคัญไม่ใช่น้อย อย่างพวกเกจ์วัดที่มักจะประโคมใส่กันเข้าไป แต่ถามว่าดูกันหมดไหม ก็ตอบไม่ได้ แต่ในคันนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะพี่วิชัยได้ทำการติดตั้งจอมอนิเตอร์ของ BLITZ รุ่น R-VIT Type I ซึ่งสามารถแสดงค่าการทำงานต่าง ๆ ออกมาได้หลายอย่าง เช่น รอบการทำงานของเครื่องยนต์, ความเร็ว, อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น, อุณหภูมิไอดี, แรงดันภายในท่อร่วมไอดี และองศาไฟจุระเบิด แต่เห็นฟังก์ชันการทำงานเยอะขนาดนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าการต่อจะต้องมีสายหรือเซ็นเซอร์วุ่นวาย เพราะการต่อทำได้ง่าย เพียงแค่ต่อสายเข้ากับปลั๊ก OBD II เพื่อรับสัญญาณเข้าเครื่องเท่านั้นเอง

นอกจากจอมอนิเตอร์ที่ว่านี้ สิ่งที่ทำการเปลี่ยนก็คงหนีไม่พ้นเบาะแบบ BUCKET SEAT ที่นิยมกัน ซึ่งใน JAZZ คันนี้ได้ทำการเปลี่ยนไปใช้เบาะของ MUGEN ส่วนพวงมาลัย ถึงแม้ของเก่าจะเป็นพวงมาลัยที่มี AIR BAG อยู่แล้ว แต่เพื่อให้ดูสปอร์ตมากกว่าเดิม จึงได้ทำการเปลี่ยนไปใช้พวงมาลัยของ INTREGRA (DC5) ส่วนหัวเกียร์ก็ถูกเปลี่ยนให้ดูดีขึ้นด้วยหัวเกียร์ MOMO

จากข้อมูลที่นำเสนอไปจะเห็นได้ว่า HONDA JAZZ ของคุณวิชัยจาก VICHAI KARNCHANG มีการปรับเซ็ตเครื่องยนต์ได้อย่างลงตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเรียนรู้ที่จะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับเครื่องยนต์มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเทอร์โบ หรือการเซ็ตกำลังอัดของเครื่องยนต์ ซึ่งในครั้งที่แล้วได้ทำการลดกำลังอัดเครื่องยนต์ แต่ในครั้งนี้กลับทำเข้าสู่สภาพเดิม เหตุผลสืบเนื่องมาจากคุณวิชัยได้ทำการทดลองจนรู้ถึงความเหมาะสมในการใช้งาน อีกทั้งข้อดี-ข้อเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากการเซ็ตเครื่องยนต์ให้ลงตัวแล้ว การจูนเครื่องยนต์ให้เหมาะสมก็ยังเป็นอีกส่วนประกอบที่สำคัญอีกด้วย เพราะถ้าทุกอย่างทำได้สมดุลกัน สมรรถนะที่เครื่องยนต์แสดงประสิทธิภาพออกมาก็จะทำได้อย่างเต็มที่ และไม่เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง จุดนี้เองทำให้คุณวิชัยจึงเปลี่ยนแปลงวิธีการทำรถคันนี้เพื่อทดลองและทดสอบหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อจะถ่ายทอดสู่รถลูกค้า