แนะนำสำหรับใครที่ดูคลิปหนังออนไลน์แล้วสะดุด ให้ลองใช้ google chrome ครับ

google chrome มีคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักท่องเว็บครับ เพราะโหลดหน้าเว็บได้เร็ว และ ดูคลิปหนังออนไลน์ได้ดี ไม่สะดุด ลองหามาใช้กันครับ ติดตั้งง่าย และ เร็ว ที่สำคัญฟรีๆไม่มีค่าใช้จ่าย ลองดูคุณสมบัติ google chrome

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Celica ทั้งสวยทั้งแรง

Celica ทั้งสวยทั้งแรง


Celica คันนี้ดั้งเดิมเป็นของ คุณ Ohm เจ้าของ 200SX หมูบิน ในตอนแรกทาง Speed D ตั้งใจซื้อมาทำเป็นรถ Retro แต่มอง ไปมองมา รูปทรงน่าจะเอามาทำเป็นรถ Drag มากกว่าเลยยกให้ น้าหยาม แห่ง Siam Prototype ไปทำต่อ แล้วก็ฝากให้ลุงตา Ram77 ช่วยแปลงร่าง เจ้า SA60 คันนี้ให้เป็น รถ "Economy Drag Car" ที่ว่า Economy ก็คือ ทำตามงบที่มี ใช้ของที่ดีที่สุด ตามงบที่ตั้งไว้ ไม่ใช้ของที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในท้องตลาด
Chassis Platform

โดยทั่วไป รถ Drag แบบ Door Car (ฝรั่งเค้าจะแบ่งเป็น Door Car รถที่ยังมีประตู กะ Dragster, Funny Car รถที่เป็นบอดี้ แบบยกครอบ) แบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ Full Tube Chassis หรือที่เรียกกันว่า Space Frame โครงสร้างของรถพวกนี้ส่วน ใหญ่จะสร้างมาจาก Square Pipe (แป๊บเหลี่ยม) หรือ Round Tube pipe (แป๊บกลม) วัสดุโดยมากก็จะเป็น Chromoly หรือ Mild Steel แล้วแต่งบประมาณของเจ้าของรถ ทำไมต้อง Chromoly ? ตอบง่ายๆ คือ ถ้าเทียบขนาดเดียวกัน โครโมลี่ก็จะเบากว่า ครึ่งนึง แถมยังให้ตัวได้ดีกว่าท่อแป๊บที่ทำจากเหล็กทั่วๆ ไป


ในการเริ่มต้นทุกคนอาจจะเลือกใช้วัสดุที่มีราคาถูกกว่า เพราะประหยัดเงิน แต่พอถึงจุดสุดท้ายที่รถวิ่งแล้ว น้ำหนักที่ต่างกัน 60-70 กิโลกรัม ที่ว่านี่แหละ จะเป็นตัวตัดสินแพ้-ชนะ … น่าคิดนะ…แบบที่สอง ฝรั่งเรียกว่า 2/3 Chassis โดยปกติแล้วโครงสร้างรถ US Muscle จะต่างกับรถญี่ปุ่น เพราะว่าส่วนใหญ่รถญี่ปุ่นจะเป็นแบบ Chassis (แชสซี) แยกกับ Body (ตัวถัง) เหมือนพวกรถกระบะ อีกแบบก็จะเป็นแบบ Monocoque อย่างพวก Nissan Cefiro แต่รถฝรั่งเช่นพวก F Body ของ General Motors หรือพวก Camaro ปี 67-69 ซึ่งเป็นรถยอดนิยมที่จะเอามาทำเป็นรถ Drag รูปแบบ Chassis ที่แตกต่างออกไป ซึ่ง Chassis ช่วงหน้าจะ แยกออกได้ ฝรั่งเรียก Sub Frame ตัว Body จะติดกับ Rear Frame Rail ช่วงหลัง ซึ่งจะมองคล้ายๆ กับรถญี่ปุ่น แต่สามารถแยก คานหน้าออกไปได้ 2/3 Chassis ก็คือ การทำในช่วงบอดี้ใหม่ แต่ใช้ช่วงหน้าหรือ Sub Frame ในรูปแบบเดิม มาถึงแบบที่สามจะ เป็นรุ่นยอดนิยมของชาวมะกัน ก็คือที่เรียกกันว่า Back Half แปลความหมายได้ตรงตัวว่าเป็นการทำลายรถแค่ครึ่งหลัง ก็มีอีกสองแบบ ถ้าเป็น Drag Car โดยเค้าจะตัดทิ้งไปเลยครึ่งหลัง แล้วก็ซื้อ Sub Frame Kit มาเชื่อมต่อก็ใช้ได้เลย ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะ เอาช่วงล่างหลังแบบ 4-Links หรือ Ladder Bar

ตามร้านต่างๆ เค้าจะให้ลูกค้าเขียนแบบ Drawing มาว่าจะเอาขนาดเท่าไหร่ ใส่รถอะไร เพลายาวเท่าไหร่ ล้อ Backspace (การเรียก Offset เวลาซื้อล้อจะได้ไม่งง) เท่าไหร่ ยางไซส์ไหน แต่โดยมากแล้วเค้าจะมีรูปแบบของเค้าอยู่ว่ารถรุ่นนี้เป็นแบบไหน แค่โทร. กริ๊งเดียวของก็มาเลยแบบ Complete Rear End (ช่วงหลังหลังแบบสำเร็จรูป) แต่ก็จะมีอีกแบบที่ง่ายกว่าและ ไม่ต้องทำลายรถมาก โดยมากจะเป็นพวก Street & Strip Car ชุด Kit ก็จะมีมาให้เป็น Ladder Bar กับ Cross member แล้วก็ Shock up kit การติดตั้งไม่ยาก ใครๆ ก็ทำได


มาเข้าเรื่อง Celica คันนี้กันสักหน่อย เนื่องจากรถคันนี้ได้ตั้งโครงการไว้ว่าเป็น Tight Budget Race Car (แปลตรงตัวก็คือ รถงบน้อย) ซึ่งอาจจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคนที่อยากทำรถเอง ไม่อยากไปโดนอู่ดังๆ ฟัน จบง่าย วิ่งได้แน่นอน นั่งศึกษากันอยู่สักพักใหญ่ ก็ตัดสินใจสั่ง ของที่เลือกสั่ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง ไม่ถึงกับดีที่สุด แต่ก็ดีกว่ามานั่งทำบ้านเรา ซึ่งไม่แน่อาจจะใช้ไม่ได้ ในระหว่างที่ถกกันว่าเอาช่วงล่างแบบไหนดี ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า ทำไมใช้ Ladder Bar? ทำไมไม่ใช้ 4-Links? คำตอบก็คือ 4-Links ดีกว่าในทุกอย่าง แต่จะมีประโยชน์อะไร ถ้าผู้ใช้ไม่รู้จริง สู้เลือกเอาแบบที่เราใช้ได้เต็มความสามารถมันก่อนจะดีกว่า การติดตั้ง Ladder Bar ก็ทำได้ง่าย การปรับแต่งช่วงล่างก็ทำได้หลายจุด ถ้าเทียบกัน Ladder Bar จะเป็น Course Tuning (หยาบๆ) ถ้า 4-Links จะเป็น Fine Tuning (ละเอียด)

หลังจากได้ Ladder Bar มาแล้ว "เสี่ยโจอี้ ช่างใหญ่ Ram77 ก็จัดห้าย" เอาเพลาท้ายของ TOYOTA Mighty-X มาหดสั้นแล้ว แล้วเชื่อมกับ Ladder Bar บน Jig อเนกประสงค์ เพื่อยึดหน้าเพลาให้ตั้งฉากกับแขนล่างของ Ladder Bar หลังจากนั้นก็ยึดแขน Cross Member เข้ากับ Chassis ส่วนกลางของรถ เพื่อเป็นจุดที่ยึด Joint ส่วนหน้าของ Ladder Bar โดยสามารถปรับขึ้น-ลงได้ เพื่อเพิ่มหรือลดการถ่ายน้ำหนักมาข้างหลัง และเนื่องจากเพลาท้าย ซิ่ง Ford 9" ที่สั่งไว้ยังไม่มาจากอเมริกา จึงต้องใช้เพลาท้ายของ Mighty-X ไปพลางๆ ก่อน เพื่อหาอัตราทดที่ลงตัวของรถคันนี้

ในการทำรถคันนี้ก็ยึดแบบช่วงล่างหน้าให้เป็นเหมือนของเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนเอาระบบ Strut Front Suspension ของ Nissan 200SX มาใช้ การทำดูเหมือนง่ายแต่ก็ต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญในการติดตั้งพอสมควร ถ้าติดตั้งไม่ดีอาจจะมีผล เสียกับศูนย์ล้อ ไปจนถึงเรื่องของ Weight Transfer ในส่วนตัวถัง เนื่องจากรถคันนี้มีอายุหลายปีดีดัก เลยจัดการปะผุ แล้วก็ Spot Welding ใหม่ เพื่อให้มีความแข็งแรง ไม่บิดตัวได้ง่าย กระจกทั้งคันเปลี่ยนมาใช้แบบอะคริลิก อุปกรณ์หลายชิ้น เช่น กันชน ฝากระโปรง ประตู แก้มหน้า เปลี่ยนวัสดุมาใช้แบบ Carbon Kevlar โดยยึดถึง Layout ของเดิมเป็นหลัก
Engine 3RZ Custom Order

มาถึงเรื่องของเครื่องยนต์ ก็ใช้เครื่องยนต์มหัศจรรย์ TOYOTA 3RZ เจ้าเก่า ซึ่งถอดมาจาก Supra คันขาว ซึ่งทาง Siam Prototype มอบหมายให้ทาง SPEED D PROSHOP เป็นผู้จัดการเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ สั่งโดยตรงจาก LC Engineering สามารถสั่งทำได้ (Custom Order) จากเดิมเครื่องยนต์ 3RZ ที่ใช้ถูกกำหนดให้ใช้น้ำมัน High Octane ตอนนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยน อุปกรณ์รอบนอกตามคอนเซ็ปต์ใหม่ คราวนี้จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงมาเป็น Methanol ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของเชื้อเพลิงแบบ Alcohol จริงๆ แล้วการใช้ Alcohol เป็นเชื้อเพลิงนั้น มีมานานมากแล้ว แต่อาจจะฟังดูแล้วแปลกๆ Alcohol ถือว่าเป็นทางออกหนึ่งของปัจจุบัน ซึ่งน้ำ มันมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ เชื้อเพลิง 2 ประเภทใหญ่ๆ ที่จะได้ยินกันอยู่เสมอ ก็คือ Ethanol และ Methanol Ethanol Fuel หรือ เอทานอล (Ethyl Alcohol) เป็น Alcohol ชนิดเดียวกับที่เราเห็นในรูปแบบของสารมึนเมา เช่น เหล้าหรือเบียร์ ได้ถูกนำมาใช้ในรูป แบบของ Biofuel โดยจุดประสงค์เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน Gasoline อาจเห็นได้บ่อยมากในช่วงนี้ เพราะมีการโปรโมตการ ใช้ น้ำมัน E20, E85 ซึ่งมีส่วนผสมของ Ethanol 20% และ 85% ตามลำดับ ส่วน Methanol หรือที่รู้จักกันในนามของ Methyl Alcohol, Wood Alcohol มีคุณสมบัติไม่มีสี (Colorless), ติดไฟง่าย (Flammable), เป็นพิษ (Poisonous)

โดยส่วนมาก เป็นผลิตผลมาจากถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติ การใช้ Alternative Fuel ของสองประเภทนี้อาจแบ่งได้สองแบบใหญ่ๆ ก็คือ Ethanol Fuel จะใช้กับรถทั่วไปที่ใช้งานปกติ ส่วน Methanol จะใช้กับรถแข่งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นพิษ และเป็นตัว ก่อให้เกิดการกัดกร่อน (Corrosive) ทำให้เกิดสนิมในระบบและเครื่องยนต์ได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความ ชำนาญ ในการใช้และ มีขั้นตอนกรรมวิธี (Operation) เพิ่มเติมมากมาย ทาง SPEED D ได้เลือกใช้ Methanol เป็นเชื้อเพลิงให้แก่รถคันนี้ จริงๆ แล้ว Methanol มีขายอยู่ทั่วไป ราคาลิตรหนึ่งประมาณ 20 กว่าบาท แต่ต้องเลือกเอาแบบที่มีส่วนผสมของน้ำน้อยที่สุด เมื่อปรับเปลี่ยนรูป แบบของเชื้อเพลิงมาเป็น Methanol ลองมาดูว่ามีอะไรที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง

เดิมที Spec เครื่องยนต์ถูกกำหนดมาให้ใช้ Racing Fuel หรือน้ำมันเชื้อเพลิงซิ่ง กำลังอัด (Static Compression) ป้วนเปี้ยน อยู่แถว ๆ 8.5 ไอ้คำว่า Static Compression นี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันมีหลายแบบหรือไง??? แถมความรู้ให้เล็กๆ น้อยๆ จริงๆ แล้ว Engine Builder เค้ามีคำจำกัดความอยู่สองแบบ แบบแรกคือ Static Compression หรือที่สามารถได้มาจากการคำนวณ อัตราส่วนของปริมาตรของอากาศเปรียบเทียบตอนลูกสูบลงสุดกับขึ้นสุด ว่ามีอัตราส่วนเป็นเท่าไหร่ แบบที่สอง มีส่วนเกี่ยวข้อง ของการ เปิด-ปิดวาล์ว องศาของแคมชาฟท์เข้ามาเกี่ยวข้อง เรียกกันว่า Dynamic Compression Ratio หรือ Corrected Compression Ratio ไม่สามารถหาได้จากการคำนวณ ต้องหาจากการทดสอบ ทดลองดูง่ายๆ ได้ โดยลองวัดกำลังอัดด้วย Pressure Gauge อ่านค่าไว้ แล้วลองปรับแคมชาฟท์ด้านไอดี (Intake) ไปสักนิด ลองวัดใหม่ดู!!! ดังนั้นเครื่องยนต์ที่มีรูปแบบ เดียว กัน กำลังอัดเท่ากัน แต่ระยะห่างวาล์วไม่เท่ากัน ใส่แคมชาฟท์ไม่เหมือนกัน ก็ย่อมที่จะมีค่า Dynamic Compression Ratio ที่ไม่
เท่ากัน ซึ่งมีผลโดยตรงกับแรงม้า-แรงบิดของเครื่อง หลายๆ คนพยายามหาความรู้จากเว็บไซต์ของสำนักดังต่างๆ เค้าบอกว่า กำลัง อัด เท่านี้ เทอร์โบแบบนั้น บูสต์เท่านั้น ได้แรงม้าแบบนี้ ก็ไปทำตาม โดยมากไม่แรง แถมพังอีกต่างหาก สรุปได้เลยว่าเครื่องที่แรงๆ ช่างเครื่อง ที่ดีต้องละเอียดเป็นพิเศษ ทำเหมือนๆ กันทุกสูบ และทุกๆ ครั้งที่ถอดประกอบ คนจูนกล่อง ECU ที่ดี ต้องอ่านออกว่า เครื่องยนต์เป็นแบบ ไหน ต้องการอะไร ไม่ใช่ว่าจะพยายามทำให้เหมือนๆ กับที่เคยทำ แล้วก็ใช้ไฟล์เดิมๆ หรือ Download ไฟล์คนอื่นลงมา แล้ว Upload เข้าไปโปรดใช้วิจารณญานตัดสินก่อนว่า สิ่งที่เห็นเป็นอย่างที่คิดหรือไม่


ออกนอกเรื่องไปไกล กลับมาเข้าเรื่องกันต่อดีกว่า เครื่องยนต์ปัจจุบันยังคงจะยึดความจุปที่ประมาณ 2.7 ลิตรเป็นหลัก เนื่องจากรอคอย Stroker มาแสนนาน แต่ก็ยังไม่ได้ จึงสรุปกันว่าจะใช้ข้อเหวี่ยงที่มี่ช่วงชักเดิมๆ เนื่องจากไม่มีใครเป็นผู้หยั่งรู้ได้ว่าแบบไหนจะดีที่สุด ทาง SPEED D ได้กริ๊งกร๊างไป หา Ross Piston เพื่อสั่งลูกสูบ Custom Order ใหม่ ให้มีกำลังอัดที่ 9.0, 10, 11 และ 12 สั่งมา 4 ชุด เผื่อลองดูว่าแบบไหนเวิร์กที่สุด ก้านสูบที่ใช้ในเครื่องตัวเก่านั้น เป็น Pauter ซึ่งมีความแข็งแรงมาก แต่ในความแข็งแรงนั้น ส่งผล ไปถึงเรื่องของน้ำหนัก ซึ่งถือว่าค่อนข้างหนักกว่ายี่ห้ออื่น ครั้งนี้เลยสั่งเป็นแบบ Custom Order เป็นก้านสูบอะลูมินัม (Alum Rod) ซึ่งมีข้อดีกว่า เพราะมีน้ำหนักเบา มีข้อเสียก็คือ ใช้งานได้ประมาณ 100 รัน ก็ต้องเปลี่ยน ชาฟท์ก็เปลี่ยนเป็นของ Clevite 77 แต่พิเศษ ตรงที่ทาง LC Engineering ไม่ได้ใช้ชาฟท์ตามขนาดของโรงงาน แต่ไปเอาแบริ่งชาฟท์ที่มีหน้ากว้างที่กว้างกว่าของพวก GM มาใช้
ระบบหล่อลื่นก็ได้เปลี่ยนปั๊มน้ำมันเครื่องเป็นของใหม่โรงงานเพื่อความชัวร์ ซึ่งก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ โดยอนาคตจะนำระบบ Dry Sump เข้ามาใช้ เพราะถูกมาก (ของใหม่ราคา 125 USD) ทาง Mr. James (Precision Engine Performance) ได้แนะนำให้ใส่ Block Filler เข้าไปในเสื้อสูบ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และให้ใช้ปะเก็นทองแดง (Copper Head Gasket) พร้อมทั้งทำ O-ring ใส่ที่เสื้อสูบเพื่อรองรับบูสต์ที่มากขนาด 4 Bar หรือ 60 PSI


ในส่วนของฝาสูบนี้ได้ทำการปรับขยายพอร์ต จาก Twin Port เป็น Big Single Port ในฝั่งไอดี และเน้นแบบทีเดียวจบ คือ เปลี่ยน ทุกอย่างที่มี ให้เป็นวัสดุ (Material) ที่ดีที่สุด ขนาดใหญ่สุด (Maximize) อุปกรณ์ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นของสั่งทำ (Custom Order) วาล์วไอดีและไอเสียถูกเปลี่ยนให้ใหญ่ขึ้นกว่าไซส์โรงงาน 2.5 mm. ไอดีมีขนาด 40 mm. ไอเสีย 33 mm. โดยทั้งนี้ ต้องเปลี่ยนบ่าวาล์ว ด้วยเพราะว่าของโรงงานสามารถขยายไปได้ไม่เกิน 1 mm. พร้อมกับเปลี่ยนวาล์วสปริงเป็นแบบสองชั้น (Dual Spring Valve) พร้อมกับรีเทนเนอร์เป็น Titanium และทำการเปลี่ยนถ้วยวาล์ว จากชิมบนเป็นระบบชิมล่าง เพื่อรองรับกับแคมชาฟท์ เพราะแคมชาฟท์
ที่ใช้ไม่มีขายอยู่ทั่วๆ ไป สั่งให้ทาง LC Engineering ทำเป็น Custom Grind Billet Camshaft หรือสร้างขึ้นมาจากเหล็กก้อน โดยทาง SPEED D กำหนดองศา และระยะยกไปให้


ระบบอัดอากาศ ทางSPEED D ได้เลือกใช้ Garrett GT47 Ball Bearing สั่งตรงจากโรงงาน Garrett พิเศษ ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ พิเศษกว่าลูกเดิมที่เคยใส่ หลายคนคงสงสัยว่า Intercooler หายไปไหน??? เนื่องจากผลพลอยได้ในการใช้ Alcohol Fuel ทำให้ไม่
จำเป็นต้องใช้ Intercooler ซึ่งมีผลโดยตรงที่ทำให้ Pressure Drop กับระบบทางเดินอากาศหายไป หลังจากถอด Intercooler ออกไป นอกจากนั้นห้องเครื่องยังโล่งขึ้น มี Ventilation ที่ดี ท่อไอดีก็ถูกทำขึ้นมาใหม่ เพื่อให้รองรับกับเทอร์โบลูกใหญ่หัวฉีดก็ได้ทำ การเพิ่มหัวฉีด จากเดิมขนาด 1,600 C.C. จำนวน 1 หัวต่อสูบ มาเป็น 3 หัวฉีดต่อสูบ ซึ่งทำให้ 1กระบอกสูบ มีเชื้อเพลิงรองรับถึง 4800 C.C. หลายคนคงตกใจว่า มันบ้าไปแล้วเหรอ ทำไมถึงต้องใช้เยอะขนาดนั้น???... ในความเป็นจริง Methanol มีค่าความร้อน เชื้อเพลิงที่ต่ำกว่าน้ำมัน Gasoline ในปริมาตรที่เท่ากัน ดังนั้นเครื่องยนต์ที่ดีจึงมีความต้องการเชื้อเพลิงมากกว่าเป็น 2 เท่า พอใช้ ปริมาณเชื้อเพลิงเยอะ ก็เดือดร้อนมาถึงระบบปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ตอนแรกทดลองใช้ปั๊มเบนซินของ Aeromotive รุ่นที่แจ๋วที่สุด 2 ตัว แต่เนื่องจาก Methanol มีผลข้างคียงในการลดอายุของปั๊ม จึงตัดใจลองใช้ของใหม่ โดยสั่งปั๊มเบนซินแบบที่เป็นกลไกของ Aeromotive ซึ่งปกติใช้กับเครื่อง V8 ซิ่งๆ โดยทำการแก้ไขจุดยึดนิดหน่อย โดยทั้งนี้ต้องใช้ Pressure Regulator ที่มาในชุด ของเค้าด้วย โดยตั้งแรงดันเดินเบาไว้ที่ 50 PSI หลังจากที่ได้ปรับจูน พบว่าแรงดันขึ้นไปสูงสุดถึง 100 ++ PSI ซึ่งแจ๋วกว่าปั๊มเบนซิน แบบไฟฟ้าทั่วๆ ไป

Engine Management

คันนี้ใช้กล่อง HKS F-Con V PRO ปรับจูนโดย SPEED D ตามเคย แต่เนื่องจากว่า Software รองรับการทำงานของ Crank Sensor ที่ติดมากับระบบ Engine Management System ของ 3RZ ไม่ได้ เลยปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบ Engine Management System ของ Mitsubishi 4G63 เนื่องจากใช้หัวฉีดถึง 3 หัวต่อสูบ จึงต้องสั่งการแบบพิเศษ คำว่าพิเศษนี้ก็คือ การดัดแปลงเอาระบบการฉีดแบบ Twin Injector เครื่องยนต์ Rotary เข้ามาใช้ หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า 2 Stage แทนที่จะฉีดพร้อม กันทีเดียวหมด เพราะจะมีผลต่อรอบต่ำๆ ซึ่งไม่ได้จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงมาก ทั้งนี้ทั้งนั้น ในรอบต่ำจะฉีดเพียงหัวเดียวแบบ Sequential และหลังจากรอบเครื่องถึง 3000 rpm ก็จะทำการฉีดอีกสองหัวเพิ่ม เนื่องจากหัวฉีดชุดที่ 2 อยู่ค่อนข้างไกลกับหัวแรก ซึ่งปักอยู่ตรงพอร์ตไอดี จึงได้ใช้ลูกเล่นของกล่อง สั่งฉีดแบบ Multi Point และสร้าง Overlap time ระหว่างหัวฉีดชุดที่ 1 กับชุดที่ 2 โดยให้ชุดที่สองทำการฉีดก่อนหัวฉีด Main ชุดแรกเล็กน้อย ในส่วนของหัวฉีดที่เพิ่มมาอีก 2 หัวต่อหนึ่งสูบ ต้องใช้ Control Box พิเศษ กล่องพิเศษที่ว่านี้ ช่าง TEE ของ Siam Protoype ได้รื้อเอาแผงวงจรของ Rebrig LC ซึ่งใช้ควบคุมหัวฉีดเสริม ในสมัย โบราณมาปรับแก้ไข และได้นำมาพ่วงกับกล่อง F-Con V PRO เพื่อแยกสัญญาณและลดกระแสไฟฟ้าเลี้ยงหัวฉีดในระบบ ซึ่งเกิดมาจาก ความต้านทานรวมของชุด SUB Injector ภายในตัวรถก็ใช้ตัว Control Box ของ MOROSO เพื่อใช้เปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น ปั๊มน้ำไฟฟ้า, พัดลม, สวิตช์ต่าง ๆ และได้เพิ่มเติม MSD DIS 4 และ Coil ของ Accel เพื่อเพิ่มความรุนแรงของชุดจุดระเบิด

Setup คราวที่แล้วได้ทำการขึ้น Dyno ที่ Powerlab รูปแบบของการวัดแรงม้าที่ Powerlab จะแบ่งออกเป็นสองแบบ แบบแรก คือ Actual Power หรือแรงม้าที่ลงล้อจริงๆ ส่วนที่สองจะเป็น Wheel Drag ในการปรับจูน ในครั้งแรกนั้น ปรับจูนโดยใช้ Racing Fuel Octane 100 บูสต์ ที่ 2.1 Bar และในครั้งที่ 2 ได้ปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงเป็น Racing Fuel บูสต์สูงสุด 3.15 Bar หรือ 47 PSI ได้แรงม้าสูงสุดที่ล้อ 1,100 hp หรือ 1,380 bhp จะเห็นได้ว่ารถคันนี้มีแรงม้าที่สูญเสียมาก เนื่องจากใช้เกียร์ออโต้ ซึ่ง ตามทฤษฎีจะอยู่ประมาณ 20% ซึ่งจากค่าที่วัดออกมา ( 270 hp/1,380 hp) ถือว่ายอมรับได้ ในปัจจุบันยังไม่ได้ทำการ ปรับจูนใหม่
แบบเสร็จสมบูรณ์ แต่ได้ทำการปรับจูนไปบ้างแล้ว บูสต์ 1.4 Bar ได้แรงม้า ที่ Flywheel ถึง 850 hp และคาดว่าน่าจะ ผลิตแรงม้า ได้ถึง ใกล้ 1,500 hp ที่บูสต์ 60 PSI

Drive Train

ในระบบส่งกำลัง ได้เตรียมการไว้ 2 Step ซึ่ง Step แรกจะใช้ระบบออโตเมติก ส่วนเฟส II หลังจากที่เซ็ตรถได้ตรง ออกตัวดี และทำ เวลาจนถึงจุดที่เกียร์ออโต้ไปกว่านี้ไม่ได้ ก็จะเปลี่ยนมาใช้เกียร์ Manual ของ Lenco + Air shifter โดยทาง Siam Prototype ได้ทำAdaptor Plate เพื่อประกบกับเครื่องยนต์และเกียร์เข้าด้วยกัน โดยจะสามารถใช้ได้ทั้งเกียร์ออโต้ Power Glide และ Lenco ซึ่งใช้หัวหมูของ Borwell ที่ใช้สำหรับเครื่อง GM BBC (Big Block Chevy)


ในส่วนของเกียร์ออโต้ ได้สร้าง Flexplate หรือ Flywheel ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถใช้เกียร์ GM Powerglide 2 speed จาก Transmission Specialties ซึ่งทาง SPEED D PROSHOP เป็นดีลเลอร์โดยตรง โดยรุ่นที่ใช้ซึ่งสามารถรองรับได้ 2000 hp ทาง TSI ปรับเปลี่ยน Planetary เป็นแบบ Lightweight อัตราทดเปลี่ยนจาก 1.76 ฟันเฉียงเป็น 1.80 ฟันตรง เปลี่ยน คลัตช์เป็นอะลูมิเนียม และมีจำนวนผ้าคลัตช์เป็น 8 แผ่น เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมีแค่ 6 แผ่น สามารถจับถ่ายแรงม้าได้ครบถ้วน วาล์วบอดี้ถูก เปลี่ยนใหม่เป็นของ TSI และเพิ่มระบบ Transbrake มาให้ เพื่อใช้ออกตัวในการแข่ง Drag Racing ทาง TSI ได้แนะนำให้ใช้ Converter รุ่น 9" แบบพิเศษ ซึ่งสามารถรองรับแรงม้าได้ถึง 1,400 hp มี Stall Speed อยู่ที่ 6,500 rpm โดยตอนที่สั่งนั้นได้ กำหนดแรงม้าอยู่ที่ 1,350 hp และ PowerBand ที่ ช่วง 6,000-9,000 rpm
ขอขอบคุณที่มา http://www.auto2thai.com